การทำลายแนวปะการัง
แนวปะการังถูกทำลาย
จากหลายสาเหตุทั้งการทำลายโดยธรรมชาติและการทำลายโดยมนุษย์
การทำลายโดยธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราแก้ไม่ได้แต่ว่าไม่ต้องวิตกเพราะว่าแนวปะการังอยู่คู่กับโลกมาหลายล้านปี
มันเป็นวัฐจักรของการดำรงอยู่
ถ้าหากการทำลายแนวประการังที่เกิดจากธรรมชาติมีผลร้ายต่อโลกจริงปะการังก็ไม่คงอยู่จนถึงทุกวันนี้
ทั้งนี้เพราะว่าการทำลายอันเกิดจากธรรมชาตินั้นเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
ต่างจากการทำลายโดยมนุษย์ที่เกิดขึ้นทุกวัน
การทำลายแนวปะการังโดยธรรมชาติ
1. ความผิดปกติของสภาพอากาศ
ในช่วงชีวิตน้อยๆ
ของผมได้พบได้เห็นเพียงครั้งเดียวคือ
ปรากฏการเอลนิโย
ที่โลกร้อนขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
ปีนั้นเดือดร้อนไปตามๆ
กัน
หลายประเทศมีผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำเพราะความแห้งแล้ง
มะพร้าวที่เคยออกลูกก็ไม่ออกลูกจนทำให้ราคามะพร้าวจากลูกละ
1.5 - 2 บาท
ขยับตัวสูงขึ้นเป็นลูกละ
10-15 บาท
เหตุการณ์นี้ไม่ใช่เกิดขึ้นกับประเทศใดประเทศหนึ่งแต่มันเกิดขึ้นกับทุกประเทศทั้งไทย
เวียดนาม ฟิลิบปินส์
และอีกหลายประเทศ
นั่นเป็นผลกระทบบนบก
แต่ผลกระทบในทะเลคือเกิดปรากฏการปะการังฟอกขาว
ตายเรียบ
ปะการังมีความไวต่อความเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำ
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำอย่างกระทันหันเพียง
2
องศาก็ทำให้ปะการังเสียหายแล้ว
ดังนั้นปรากฏการณ์เอลนิงโยจึงสร้างความเสียหายให้กับแนวปะการังอย่างมาก
แต่มันคงไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก
ทิ้งไว้สักระยะแนวปะการังก็จะฟื้นตัวของมันเอง
แต่มันต้องใช้เวลา
2. พายุถลุ่ม
ยกตัวอย่างจากเหตุการณ์พายุเกร์ถล่ม
ครั้งนั้นกระแสลมแรงทำให้เกิดคลื่นขนาดยักษ์
แนวปะการังช่วยลดความแรงของกระแสคลื่นใต้น้ำที่จะพัดถล่มชายฝั่ง
แต่ด้วยเหตุที่คลื่นใต้น้ำมีความแรงเกินไปจึงทำให้แนวปะการังชายฝั่งเสียหายราบเรียบเป็นหน้ากอง
แต่ปะการังน้ำลึกไม่ได้รับผลกระทบ
จากครั้งก็ผ่านมานานพอสมควร
ปะการังเริ่มฟื้นตัว
ต่อไปอาจจะเสียหายอีกแล้วก็ฟื้นตัว
มันเป็นวัฐจักรของธรรมชาติ
การทำลายโดยมนุษย์
เป็นการทำลายที่เกิดขึ้นทุกวัน
วันละเล็กวันละน้อย
การทำลายแนวปะการังโดยมนุษย์มีหลายประการคือ
1. การระเบิดปลา
ปลาอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง
การระเบิดปลาจึงระเบิดบริเวณที่มีปลาอาศัยอยู่มาก
ระเบิดไปตูมหนึ่งก็ทำลายปะการังให้พังราบเรียบไปเป็นบริเวณหนึ่ง
หากจากระเบิดปลาไม่หยุดก็ทำให้ปะการังถูกทำลายเพิ่มมากขึ้น
หลุมจากการระเบิดปลาของชาวประมงมักง่าย
2. การทิ้งสมอเรือของทัวร์ดำน้ำ
ปัญหานี้เป็นปัญหาที่งี่เง่าที่สุดเพราะว่าทัวร์ดำน้ำอาศัยความสวยงามของแนวปะการังเป็นจุดขาย
แต่เรือดำน้ำกลับเป็นผู้ทำลายจุดขายเสียเอง
การดำน้ำจะต้องไปดำในบริเวณที่มีแนวปะการังที่สมบูรณ์และสวยงาม
ดังนั้นการทิ้งสมอเรือแต่ละครั้งย่อมหมายถึงการทำลายแนวปะการัง
ทุกครั้งที่เราหย่อนสมอเรือลงไปเราไม่รู้เลยว่าข้างล่างนั้นจะมีแนวปะการังที่สวยงามเพียงไร
ปัญหานี้แก้ได้ง่ายคือ
การทำทุ่นลอยน้ำไว้ในบริเวณที่เป็นแหล่งดำน้ำ
การยึดเรือให้ผูกกับทุ่นที่ทางกรมประมงได้เตรียมไว้ให้
แต่ถ้าหากว่าบริเวณใดไม่มีทุ่นสำหรับผูกเรือก็แก้ปัญหาได้โดยการปล่อยให้นักดำน้ำลงน้ำแล้วปล่อยให้เรือรอยโดยไม่ทิ้งสมอ
เมื่อนักดำน้ำโผล่ขึ้นมาค่อยเข้าไปรับ
นักท่องเที่ยวแบบเราๆ
ท่านๆ
จะช่วยอนุรักษ์ได้โดยการสอดส่องดูแลหากเรือดำน้ำที่เราไปใช้บริการทิ้งสมอเรือในแนวปะการังให้เราถามเขาว่า
อ้าวพี่แล้วงี้สมอไม่ลงไปทำลายปะการังเหรอคะ
ถามไปงั้นๆ
แหล่ะให้รู้ว่านักท่องเที่ยวรู้สึกอย่างไร
แต่ไปเขาจะได้รู้ว่าควรจะทำอย่างไร
3. ปัญหาอันเกิดจากนักดำน้ำ
ทั้งนักดำน้ำแบบผิวน้ำและนักดำน้ำแบบ Scuba
ล้วนเป็นตัวทำลายแนวปะการังอีกตัวการหนึ่ง
การทำลายเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์เช่นการลอยตัวไม่ดี
บางครั้งจมจงไปทับหรือไปเหยียบกอปะการังสวยๆ
จนหักเสียหายและตายไป
บางคนเข้าใกล้ปะการังจนเกินไปพอโดยคลื่นใต้น้ำพัดก็ลอยไปกระแทกปะการังเสียหาย
นักดำน้ำควรฝึกทักษะการลอยตัวให้ดีก่อนที่จะดำเข้าใกล้แนวปะการัง
ถ้าไม่แน่ใจในฝีมือตัวเองก็ให้ดำอยู่ห่างๆ
เพื่อความปลอดภัยกับแนวปะการัง
และปลอดภัยกับตัวท่านเองเพื่อจะได้ไม่ไปสัมผัสกับปะการังมีพิษจำพวกปะการังไฟหรือพวกไฮดรอยส์
ส่วนนักดำน้ำแบบผิวน้ำมักจะสร้างความเสียหายด้วยการยืนบนแนวปะการัง
ที่พื้นคือแนวปะการังที่กำลังฟื้นตัว
4.
ปัญหาอันเกิดจากการทำการประมง
แนวปะการังเป็นแหล่งอาศัยของปลาและสัตว์น้ำทะเลจำนวนมาก
ที่ใดมีแนวปะการังสมบูรณ์ที่นั่นย่อมมีปลามาก
ดังนั้นเรือประมงจึงมักจะเข้าไปลากอวนในบริเวณแนวปะการังทำให้แนวปะการังเสียหาย
ปะการังหักล้ม
อวนก็ขาด
เสียทั้งปะการังเสียทั้งเครื่องมือทำมาหากิน
|
ปะการังล้มกลิ้งกับพื้นเพราะโดนอวนลาก
อวนก็ขาดติดปะการังภาพซ้าย
ถ่าย ณ
บริเวณเดียวกัน
|
|